คลังความรู้และกิจกรรม

แคคตัส ต้องอยู่ในโรงเรือนจริงๆหรอ?

แคคตัส ต้องอยู่ในโรงเรือนจริงๆหรอ?

แคคตัส (CACTUS) หรือ ที่ใครๆเรียกกันว่า กระบองเพชรมีถิ่นกำเนิดในทะเลทรายที่มีอากาศร้อน แคคตัส มีหลากหลายพันธุ์มากกว่า 3,000 ชนิด ไม่รวมสายพันธุ์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นมาอยู่เรื่อยๆ ยังไม่มีบันทึกที่ชัดเจนว่า แคคตัส มีความเกี่ยวข้องกับมนุษย์ตั้งแต่เมื่อไร แต่มีการค้นพบบันทึกหลักฐานที่เกี่ยวกับแคคตัส ซึ่งถูกบันทึกในปี ค.ศ. 1325 โดยชนชาว Aztecs ในประเทศเม็กซิโก ใช้ต้นแคคตัสเป็นสัญลักษณ์แห่งการรวมเผ่าพันธุ์ แคคตัส มีการค้นพบครั้งแรกโดย คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ในช่วงปลาย ค.ศ. ที่ 15 ในขณะที่โคลัมบัส ได้เดินทางไปยังหมู่เกาะ West indies และได้พบแคคตัสในสกุล Opuntiaและ Melocactusเป็นครั้งแรก โดยในระหว่างเดินทางกลับ โคลัมบัสก็ได้นำแคคตัสกลับมายังยุโรปด้วย จึงทำให้ แคคตัส เริ่มมีการเผยแพร่ และถูกค้นพบพันธุ์ใหม่ๆอีกมากมาย

เราก็ได้รู้จักกับเจ้า แคคตัส กันไปพอสมควรแล้ว ทีนี้เรามาเข้าเรื่องของเราดีกว่า เนื่องจากเจ้าแคคตัส มีถิ่นกำเนิดในทะเลทรายที่มีอากาศร้อน จึงสามารถนำมาเลี้ยงในเมืองไทยได้อย่างสบาย แถมยังเลี้ยงได้สวยงามกว่าหลายๆที่ในโลกอีกด้วย เพราะในเมืองไทยไม่มีหิมะ และอากาศที่หนาวจัด แคคตัสจึงไม่ต้องพักตัว แต่อาจจะเลี้ยงแคคตัสที่ชอบอากาสเย็นได้ไม่ดีนัก เพราะในทะเลทรายถึงแม้จะมีอากาศร้อนในช่วงกลางวัน แต่ในตอนกลางคืนนั้นกลับมีอากาศที่หนาวเย็นมากนัก เคยมีผู้เชี่ยวชาญกล่าวไว้ว่า “สถานที่ใดที่มีอุณหภูมิในช่วงกลางวันแตกต่างจากช่วงกลางคืนถึง 10 องศา สถานที่นั้นเลี้ยงไม้ได้งามนัก”

ปัจจัยหลักในการเลี้ยงแคคตัส คือ แสงแดด อุณหภูมิ เครื่องปลูก น้ำ ปุ๋ย และที่เราจะมาพูดถึงกันในวันนี้ นั้นก็คือ โรงเรือน

แสงแดดแคคตัส อาศัยแสงแดดในการปรุงอาหารเลี้ยงลำต้นเพื่อความเจริยเติบดตและการอยู่รอด เช่นเดียวกับต้นไม้ชนิดอื่นๆ แคคตัส มีถิ่นกำเนิดในภูมิประเทศที่ร้อน และ แห้งแล้ง เพื่อเลียนแบบธรรมชาติ จึงควรจำได้รับแสงแดดให้นานตลอดวัน เพื่อทำให้แคคตัสแข็งแรงเติบโต ได้รูปทรงที่ถูกต้องตามลักษณะสายพันธุ์

อุณหภูมิ แคคตัส ชอบอากาศร้อน และแห้งแล้ง ดังนั้นในเมืองไทยซึ่งมีอากาศที่ร้อนมากๆ จึงทำให้สามารถเลี้ยงแคคตัสให้เติบโตได้ดีตลอดทั้งปี

เครื่องปลูกนั้นก็หมายถึง ดิน ซึ่งเป็นแหล่งอาหารสำหรับการเจริญเติบโตของเจ้าแคคตัสนั้นเอง โดยส่วนประกอบที่สำคัญที่เราจะผสมลงไปนั้น ได้แก่ เนื้อดินวัสดุที่ช่วยเพิ่มความโปร่งให้ดิน เช่น เพอร์ไลท์ เวอร์มิคูไลท์ เป็นต้น และ สารเคมีต่างๆ เช่น ปุ๋ยละลายน้ำช้า ยาฆ่าแมลงแบบเกร็ด และ ฯลฯ ส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วนนี้ ควรจะเลือกชนิดที่จะนำมาผสม ให้เข้ากับสภาพพื้นที่ และ ความสะดวกในการซื้อหา ข้อสำคัญหลังจากที่ผสมดินเสร็จแล้ว ควรรดน้ำให้ชุ่ม แล้วตากแดดทิ้งไว้จากนั้นประมาณ 1-2 สัปดาห์ เราก็จะได้ดินที่สะอาดและปราศจากความร้อนที่เกิดจากการย่อยสลายตัวของอินทรีย์สารในดิน

น้ำ เวลาในการรดน้ำ ควรจะรดในช่วงเวลาเช้าหรือเย็น คือห้ามรดในช่วงที่กระถางหรือเครื่องปลูกร้อนมาก เพราะจะทำให้แคคตัสของเราตายได้ ระยะเวลาในการรดน้ำ ให้เราเช็คหลังจากที่รดน้ำไปวันแรก ว่าอีกกี่วันถัดมาดินถึงจะแห้ง เมื่อดินแห้งแล้วให้เว้นไปอีก 1 วัน แล้วค่อยรดในวันถัดมา คือเราต้องปล่อยให้ดินมีวันที่แห้งบ้าง

ปุ๋ย การใส่ปุ๋ยเราสามารถใช้ปุ๋ยกล้ยวไม้ให้แก่แคคตัสได้ แต่ควรใช้ในปริมาณที่ต่ำกว่าฉลากข้างขวดระบุไว้ ไม่ควรใจร้อนให้ปุ๋ยในปริมาณมาก เพราะอาจทำให้ต้นแคคตัสระเบิดได้

โรงเรือน โดยธรรมชาติของแคคตัส สามารถอยู่ได้ในที่กลางแจ้งและมีแสงแดดจัดเต็มที่ แต่ลักษณะของแคคตัสที่อยู่กลางแจ้งนั้น จะมีผิวที่กร้านแดด ไม่สวยงามสดใส ถ้าเทียบกับที่เลี้ยงโดยมีการพรางแสงบ้างเล็กน้อย เว้นแต่ชนิดที่มีขน หรือ หนามปกคลุมจนมิดเนื้อลำต้น ดังนั้น ประโยชน์ของการสร้างโรงเรือนแคคตัสก็เพื่อปกป้องแคคตัสจากสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ เช่น แสงแดด และฝน ที่มากเกินความต้องการ

โรงเรือนที่เหมาะกับการปลูกแคคตัส จะต้องเลี้ยงแคคตัสได้อย่างสุขสบาย มีลักษณะตามสายพันธุ์ที่ถูกต้อง มีสีสวยงามทุกฤดู ไม่กลัวแดดในฤดูร้อน และ ไม่เน่าตายในฤดูฝน สามมารถป้องกันแมลงและสัตว์ต่างๆ ที่เป็นอันตรายได้

รูปแบบโรงเรือนส่วนใหญ่ที่ใช้เลี้ยงแคคตัสในเมืองไทย มักจะใช้พลาสติกใสคลุมโรงเรือน ที่ผสม UV มุงหลังคา ในระยะแรกอาจจะยังใสมาก จึงควรใช้แสลนคลุมพรางแสง 50 % เมื่อพลาสติกเริ่มขุ่น แคคตัสเริ่มปรับสภาพได้ จึงนำแสลนออก ซึ่งจะเหมาะกับโรงเรือนขนาดเล็ก ลงทุนน้อย และอีกรูปแบบซึ่งดูถาวรกว่า แต่ต้องลงทุนมากขึ้น คือโรงเรือนที่มุงด้วยหลังคากระเบื้องใส ชนิดที่เป็นใยแก้ว แต่ก็จะมีอายุการใช้งาน ประมาณ 3-5 ปี เพราะกระเบื้องจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลือง และขุ่น ทำให้ได้รับแสงแดดไม่เต็มที่ จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่ แต่กระเบื้องใสก็มีหลายชนิด เช่น โพลีคาร์โบเนต อะคิริค ซึ่งมีอายุการใช้งาน และราคาต่างกันออกไป

โดยโรงเรือนที่จะแนะนำวันนี้ เป็นโรงเรือนสำหรับผู้ที่เริ่มต้นเลี้ยง หรือผู้ที่มีเงินลงทุนไม่มาก ซึ่งโครงสร้างโรงเรือนก็ทำด้วยไม้และวัตถุที่พาหาได้ในท้องถิ่น มุงด้วยพลาสติกคลุมโรงเรือนชนิดใส ที่ผสมสาร UV ของบริษัท TCT ส่วนด้านข้างใช้มุ้งขาวกันแมลงของ TCT ซึ่งจะผสม UV และผลิตจากพลาสเกรดเยี่ยม ทำให้มีอายุการใช้งานที่นาน อากาศถ่ายเทได้ดี และยังสามารถกันแมลงได้อีกด้วย ส่วนการพรางแสง ใช้แสลนสีเงิน 50 % ของ TCT หรือจะใช้แสลนที่ผสมอลูเนียม 50 % ที่ป้องกันแสงแดด ลดความร้อน และควบคุมอุณหภูมิได้ดี อีกทั้งยังสามารถคายความร้อน เพื่อรักษาอุณหภูมิภายในโรงเรือนทำให้พืชมีอัตราการเจริญเติบโตสูง ของทาง TCT เขาก็มีให้เลือกใช้เช่นกัน

แคคตัส ต้องอยู่ในโรงเรือนจริงๆหรอ? จึงต้องตอบว่า จำเป็นมากๆสำหรับคนที่เลี้ยงแคคตัส อย่างจริงจัง ผู้ปลูกจำนวนไม่น้อย ที่เสียดายเงินสร้างโรงเรือน แต่ไม่เสียดายเงินที่จะซื้อต้นไม้ราคาสูงๆ ซึ่งในที่สุดแล้ว เมื่อสถานที่เลี้ยงไม่ดี เราก็ไม่สามารถที่จะดูแลรักษาแคคตัสไว้ได้ ความเสียหายมันมากกว่าเงินที่จะนำมาสร้างโรงเรือนเสียอีก

อัพเดทล่าสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อนำเสนอคอนเทนต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีบนบริการของเรา หากท่านใช้บริการเว็บไซต์ของเราต่อไปโดยไม่ได้ปรับการตั้งค่าใดๆ เราเข้าใจว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์ของเรา คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้

ยอมรับ